แม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่แบบมวนจะลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับสุขภาพของคนทั่วโลก รวมถึงประชากรในประเทศไทย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ วัยรุ่นจำนวนมากหันไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าและพอตแทน โดยเฉพาะพอตใช้แล้วทิ้ง ที่มีปริมาณผู้ใช้เพิ่มขึ้นๆเรื่อย และแทบจะครองตลาดไปเกินกว่าครึ่งเวลานี้ โดยเฉพาะหลายๆ บ้าน ที่มีลูกหลานในวัยรุ่น การที่เห็นเด็กวัยรุ่น ที่พึ่งจะออกจากการดูแลของเรามาไม่นาน เริ่มมีอิสระขึ้น และห้ามยาก หันมาดูดหรือใช้งานสิ่งที่เรียกว่าพอต ก็คงเป็นเรื่องน่าหนักใจของผู้ปกครองอยู่ไม่น้อย
INFY Thailand ในฐานะผู้นำเข้า และจัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแบบพอตแบรนด์ INFY เราต้องการที่จะให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อการแก้ไข ป้องกัน และรับมืออย่างเข้าใจ มาดูกันเลยครับว่า เมื่อเด็กๆวัยรุ่น เริ่มต้นดูดพอต มีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง?
วัยรุ่นทั่วโลก ดูดพอตกันเยอะแค่ไหน?
ผลการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนธันวาคม 2018 เผยสถิติที่น่าตกใจ ดังนี้:
- นักเรียนชั้น ม.2 เกือบ 46% และนักเรียนชั้น ม.4 เกือบ 67% บอกว่า บุหรี่ไฟฟ้าหาซื้อได้ง่าย ปานกลาง ไปจนถึงง่ายมาก
- จำนวนนักเรียนมัธยมปลายที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเปรียบเทียบปี 2018 กับ 2017
- นักเรียนชั้น ม.6 ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โดย 1 ใน 5 คน สูบบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินในเดือนที่ผ่านมา
- นักเรียนชั้น ม.2 1 ใน 10 คน บอกว่า เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินในปีที่ผ่านมา
แม้ว่าเราจะยังไม่มีข้อมูลในระยะยาวเพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงจากการสูบพอตทั้งหมด แต่สารที่อยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า อาจสรุปได้เบื้องต้น ว่าอาจมีผลเสียต่อสุขภาพ และอย่างที่เป็นที่รู้กัน ว่าการติดนิโคตินอาจเพิ่มปัญหาความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า รวมถึงทำให้วัยรุ่นเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดอื่น ๆ ในอนาคต
บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยไหม?
บุหรี่ไฟฟ้าถูกคิดค้นโดยเภสัชกรชาวจีนในช่วงต้นยุค 2000 มีหลายแบบ ซึ่งหลักการของมันก็คือการใช้ความร้อน จ่ายไฟจากแบตเตอรี่ในการทำให้ “น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า” (e-liquid) ร้อนขึ้น ซึ่งก็ทำให้เกิดเป็นไอน้ำและควันขึ้นมา ดังนั้น จุดขายเริ่มต้นถึงความปลอดภัยของพอตและบุหรี่ไฟฟ้า นั่นก็คือการให้ความร้อน ที่ไม่เผาไหม้
ในปัจจุบันที่มีตัวเลือกมากขึ้น พร้อมการเข้ามาของพอตแบบต่างๆ แน่นอนว่ายิ่งน่าดึงดูด ด้วยกลิ่นและรสชาติที่มีให้เลือกอย่างแทบจะไม่จำกัด ความสนุกและความหลากหลายในการดูด ทำให้ของอันตรายอย่างบุหรี่ กลายเป็นเรื่องที่ดูเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แพคเกจต่างๆ ตัวเครื่องที่สวยงาม ทำให้กลายเป็นอุปกรณ์พกติดตัวประจำวันของเด็กวัยรุ่นจำนวนมากไปโดยปริยาย
คำถามที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับพอตก็คือ: ปลอดภัยไหม? ช่วยเลิกบุหรี่ได้ไหม? น่าเสียดายที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามทั้งสองข้อ แม้บางการศึกษาจะไม่พบผลข้างเคียงในผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในระยะสั้น แต่ความเสี่ยงในระยะยาวนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
เปรีบเทียบกับบุหรี่มวนแบบเดิมมีส่วนผสมของยาสูบ ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีหลายชนิดที่ก่อมะเร็ง บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีส่วนผสมของยาสูบ แต่มีนิโคติน ซึ่งเมื่อใช้งานปริมาณมากๆ ก็นับว่าเป็นสารเสพติดที่รุนแรงอยู่ (และเราก็ไม่อยากโกหกลูกค้าและผู้อ่านของเรา ตัวน้ำยาพอตหรือบุหรี่ไฟฟ้า นั้นก็มีสารเคมีชนิดอื่นๆ อยู่หลายชนิด) ซึ่งก็เคยมีรายงานเก่าๆ ออกมาว่า ในการผลิตน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า อาจมีสารฟอร์มัลดีไฮด์ผสมมากกว่าบุหรี่แบบมวน 5-15 เท่า ซึ่งนับเป็นสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ
แต่ช้าก่อน ดูดพอต อาจไม่อันตรายขนาดนั้น
ทั้งนี้ผลวิจัยก็ต้องนำมาแปลให้ดีนะครับ เพราะหลายครั้ง งานวิจัยต่างๆ ย่อมต้องอยากได้ข้อสรุปที่ชี้ชัดได้ แน่นอนว่าใครจะอยากให้สินค้าอย่างบุหรี่ไฟฟ้าเป็นพระเอกกันละ? จริงไหมครับ? ลองมาดูบทวิเคราะห์ จากจ่า เพจ Drama Addict กัน
“ประเด็นคือ หากดูรายละเอียดของงานวิจัยที่ว่า จะพบว่า เป็นการทดลองที่เอาน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้า มาผ่านความร้อนสูง แบบที่อธิบายไปข้างต้น ว่ามันมีความเป็นไปได้ที่ควันบุหรี่ไฟฟ้าอาจมีสารตัวนี้ในปริมาณสูงหากมันผ่านความร้อนมา
ปัญหาคือ กลไกการทำงานของบุหรี่ไฟฟ้าทั่วไป โดยปรกติมันไม่ได้สร้างความร้อนขนาดนั้น กลไกการทำงานของบุหรี่ไฟฟ้า มันจะเป็นการนำน้ำยาไปผ่าน heat coil ในวงจรของมันให้น้ำยากลายเป็นไอควันออกมา แล้วคนที่ใช้งานก็สูบมันเข้าไป (มันมีบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้หลักการทำงานของอัลตร้าโซนิคในการสร้างควันด้วย )”
“จริงอยู่ว่าหากน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้าถูกนำไปผ่านความร้อนสูงมาก มันจะปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์ออกมาในปริมาณที่สูงกว่าบุหรี่จริงเป็นสิบเท่าจริง
แต่ไม่มีหลักฐานใดที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ใช้งานบุหรี่ไฟฟ้า จะได้รับสารนั้นในปริมาณเท่ากันจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าตามปรกติ”
>> อ่านโพสท์ต้นฉบับได้ที่นี่ <<
ทั้งนี้อันตรายของการดูดพอต แม้ไม่สรุปได้แน่ชัด แต่การใช้นิโคตินเยอะเกินไปในวัยรุ่น ย่อมเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
นิโคตินนับว่าเป็นสารที่ค่อนข้างเสพติด ดังนั้นเมื่อสมองของเรา หรือโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น และนักเรียน มีการพึ่งพาการใช้นิโคติน อาจจะส่งผลต่อสุขภาพจิตรโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการวิตกกังวล เมื่อได้ได้รับ หรือขาดของ เซลล์สมองที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสที่ผลเสียจะมากกว่า หรือรุนแรงกว่า ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองที่กังวลใจอยู่ ก็อาจเริ่มจากการหาช่วงเวลาคุยกับบุตรหลาน ถึงการลด (หากว่าเลิกไม่ได้) ถึงการใช้งานบุหรี่ไฟฟ้าแบบพอต และห่างจากนิโคติน
เคล็ดลับที่พ่อแม่ควรรู้ วิธีคุยกับลูก เมื่อต้องพูดคุยเรื่องการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

- เตรียมตัวให้พร้อม โดยเฉพาะในด้านข้อมูล วัยรุ่นยุคใหม่ โดยเฉพาะหากเป็นวัยต่อต้าน การจะโน้มน้าวให้ดูน่าเชื่อ จำเป็นที่เราจะต้องศึกษาข้อมูล ที่มีผลวิจัยรองรับ
- พยายามเอาตัวเด็กหรือวัยรุ่นเป็นที่ตั้ง เริ่มจากให้เขาบอกเล่าถึงสิ่งที่เขาคิด มีวัยรุ่นจำนวนมากมีความเข้าใจหรือความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการใช้พอตและบุหรี่ไฟฟ้า
- อย่าตั้งอคติ แม้คุณจะเกลียดพอตเข้าไส้ก็ตาม คุณต้องยอมรับให้ได้ว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติของยุคสมัย และเราไม่สามารถควบคุมได้ทุกอย่าง
- อธิบายถึงผลเสีย และเปรียบเทียบให้เห็นภาพ โดยไม่สรุปทึกทักเอาเอง
- อธิบายถึงความแตกต่างของช่วงวัย ทำไมผู้ใหญ่สูบได้ ทำไมเด็กจึงยังไม่ควรสูบ ซึ่งมีวิจัยมากมายที่บ่งบอกว่าสมองของวัยรุ่น ยังพัฒนาได้ถึงอายุ 25 จึงจะเต็มที่ การรีบใช้นิโคติน ทำให้การพัฒนาทำได้ช้าลงและไม่เต็มที่
- อธิบายถึงผลกระทบในชีวิตประจำวัน อนาคตทางการกีฬา หรือผลกระทบ ทำให้ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถเรียนหนังสือ หรือทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่
แหล่งที่มา:
https://e-cigarettes.surgeongeneral.gov/documents/SGR_Ecig_ParentTipsheet_508.pdf